วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง

โครงงานวิยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง


คณะผู้จัดทำ

1. นายเจตริน สุระรัมย์ เลขที่1
2. นางสาวชลทัย พิชัยกาล เลขที่17
3. นางสาวพนัสดา อนันต์ เลขที่21
4. นางสาวสิรินทร์พร นงค์นวน เลขที่28
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนภัทรบพิตร
จังหวัดบุรีรัมย์


อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์ รตนัตตยา จันทนสาโร



บทคัดย่อ
ยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี



ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า
พาราฟินที่หลอมเหลว แล้วผสมกับน้ำใบตะไคร้ตากแห้ง


สมมติฐานของการศึกษา
1. ตะไคร้สามารถไล่ยุงได้
2. เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้
3. เทียนหอมสมุนไพรที่ผลิตขึ้นได้น่าจะมีกลิ่นของสมุนไพรซึ่งได้แก่ตะไคร้หอมให้กลิ่นที่หอมสดชื่น



ตัวแปร
ตัวแปรต้น _ ใบตะไคร้ตากแห้ง
ตัวแปรตามไล่ยุงได้
ตัวแปรควบคุม – ใบตะไคร้ตากแห้ง 10 กรัม
พาราฟินหลอมเหลว 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
S.A 1 ช้อนชา
P.E 1 ช้อนชา


อุปกรณ์
วัสดุ
1. พาราฟิน
2. ใบตะไคร้ตากแห้ง
3. S.A
4. P.E
5. ไส้เทียน
6. สีเทียน
อุปกรณ์
1.หม้อ
2.ทัพพี
3.แม่พิมพ์
4.มีด
5.เขียง
6.อุปกรณ์ตกแต่ง
7.ผ้าขาวบาง




อุปกรณ์
1.หม้อ
2.ทัพพี
3.แม่พิมพ์
4.มีด
5.เขียง
6.อุปกรณ์ตกแต่ง
7.ผ้าขาวบาง











วิธีการทดลอง
1 .นำใบตะไคร้ไปตากแดด



2. หั่นใบตะไคร้ตากแห้งเป็นชิ้นเล็กๆ






3. นำไปตะไคร้ตากแห้งไปต้มในน้ำเดือด




4. กรองน้ำตะไคร้ด้วยผ้าขาวบาง





5. หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็กๆ




6. นำพาราฟินที่หั่นแล้วใส่หม้อขึ้นตั้งความร้อนปานกลาง เคี้ยวไปจนละลายเป็นของเหลว





7. ใส่ S.A และ P.E ลงไปอย่างละประมาณ 1 ช้อนชา เสร็จแล้วใส่สีเทียนลงไปพอประมาณ แล้วตามด้วยน้ำตะไคร้หอม








8. นำพาราฟินที่ละลายแล้วใส่แม่พิมพ์และใส้เทียนลงไป






9. แกะเทียนออกจากแม่พิมพ์และตกแต่งให้สวยงาม






10. ทำกล่องบรรจุภัณฑ์








ผลการทดลอง
เทียนหอมสมุนไพรกลิ่นตะไคร้หอมที่ได้จะมีกลิ่นหอมของตะไคร้หอมและสามารถไล่ยุงได้ดี ไม่แพ้ยากันยุง และพบว่ายุงตายด้วย



สรุปผลการทดลอง
1. การทำเทียนหอมไพรทำได้ยาก และมีขั้นตอนการทำที่ง่าย
2.ใบตะไคร้ที่ใช้ทำเทียนสมุนไพรมีคุณสมบัติให้กลิ่นและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
3.มีขั้นตอนการทำไม่ยากและยังเป็นการนำพืชสมุนไพรจากท้องถิ่นของเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ทราบประโยชน์ของใบตะไคร้ว่าสามารถไล่ยุงได้
2. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการซื้อครีมทากันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง
3. ไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
4. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.ได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด





ข้อเสนอแนะ
1สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้
2.การทำเทียนหอมเราควรนำสมุนไพรที่อบแห้งใส่ลงไปในเนื้อเทียน หอมด้วย อาจจะได้กลิ่นสมุนไพรมากขึ้น
3. ควรนำสมุนไพรหลายชนิดมาทำเทียนหอมสมุนไพรเพื่อเปรียบเทียบกลิ่นที่ได้และรับความนิยม
4.เราสามารถเทียนหอมสมุนไพรเพื่องานอดิเรกและสามารถนำประกอบอาชีพได้อีกด้วย